วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คะแนนสอบ GAT PAT ครั้งที่ 2/2553 และประวัติเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด (คนค้นคน)

  สทศ.เผยภาพรวมสอบ GAT-PAT เดือน ก.ค. พบ GAT ได้ 0 คะแนนกว่า 8,000 คน เท่าครั้งก่อน Gat เชื่อมโยงเต็ม 20,000 คน ขณะที่คะแนน PAT ไม่มีได้เต็ม ยกเว้นภาษาญี่ปุ่นศ.ดร.อุทุมพรชี้ ความยากข้อสอบไม่ต่างจากครั้งเดือน มี.ค.ระบุเปลี่ยนข้อสอบส่งผลค่าการเดาถูกลดลง รับไม่แปลกใจเด็กได้ 0 เชื่อจากปัญหาคิดวิเคราะห์-บางคนเพียงแค่ดูข้อสอบ เจอทุจริต 22 ราย ประกาศผลให้ 13 ราย
     
       วันนี้ (3 ส.ค.) ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้ อำนวยการ สทศ. แถลงผลการจัดสอบแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) ครั้งที่ 2/2553 (สอบเดือน ก.ค.53) ว่า สทศ.จะประกาศผลสอบในวันที่ 5 ส.ค.นี้ โดยเด็กสามารถเข้าระบบเพื่อตรวจสอบผลคะแนนได้ตั้งแต่เวลา 24.00 น.ของวันที่ 4 ส.ค.ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศผลเร็วกว่ากำหนดเดิมในวันที่ 14 ส.ค.สำหรับผู้ที่ต้องการขอดูกระดาษคำตอบ สามารถยื่นคำร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6-8 ส.ค. และจะเปิดให้ดูกระดาษคำตอบในวันที่ 21 ส.ค.
     
       ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อว่า สทศ.ได้วิเคราะห์ผลการสอบ GAT/PAT ดังกล่าวพบว่ามีผู้เข้าสอบ GAT จำนวน 222,065 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 128.43 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 300 คะแนน จำแนกเป็น GAT 1 เต็ม 150 คะแนน เฉลี่ย 81.51 คะแนน โดยมีผู้สอบได้ 0 คะแนน ประมาณ 8,000 คน ส่วนผู้ที่ได้เต็มมีประมาณ 20,000 คน GAT 2 เต็ม 150 คะแนน ได้เฉลี่ย 46.92 คะแนน ได้ต่ำสุด 0 คะแนนและได้เต็ม, PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ เข้าสอบ 131,335 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 56.26 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 288 คะแนน, PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เข้าสอบ 133,002 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 85.49 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 251 คะแนน, PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ เข้าสอบ 28,745 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 83.54 คะแนน ต่ำสุด 15 คะแนน สูงสุด 279 คะแนน, PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ เข้าสอบ 13,828 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 102.06 คะแนน ต่ำสุด 3 คะแนน สูงสุด 225 คะแนน, PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู เข้าสอบ 102,219 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 127.80 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน สูงสุด 226 คะแนน, PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ เข้าสอบ 15,262 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 119.93 คะแนน ต่ำสุด 17.5 คะแนน สูงสุด 217.5 คะแนน
     
       ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวอีกว่า ในส่วน PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ จำแนกเป็น PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส เข้าสอบ 3,323 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 93.33 คะแนน ต่ำสุด 39 คะแนน สูงสุด 282 คะแนน, PAT 7.2 ภาษาเยอรมัน เข้าสอบ 579 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 98.68 คะแนน ต่ำสุด 42 คะแนน สูงสุด 270 คะแนน, PAT 7.3 ภาษาญี่ปุ่น เข้าสอบ 2,920 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 105.26 คะแนน ต่ำสุด 30 คะแนน สูงสุด 300 คะแนน, PAT 7.4 ภาษาจีน เข้าสอบ 5,007 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 85.21 คะแนน ต่ำสุด 18 คะแนน สูงสุด 270 คะแนน, PAT 7.5 ภาษาอาหรับ เข้าสอบ 590 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 87.97 คะแนน ต่ำสุด 33 คะแนน สูงสุด 228 คะแนน และ PAT 7.6 ภาษาบาลี เข้าสอบ 228 คน เต็ม 300 คะแนน ได้เฉลี่ย 90.39 คะแนน ต่ำสุด 48 คะแนน สูงสุด 213 คะแนน
     
       “จาก การวิเคราะห์ข้อสอบ GAT/PAT ครั้งล่าสุดเทียบกับการสอบครั้งที่ 1 ในเดือน มี.ค.53 พบว่า ค่าความยากของข้อสอบไม่แตกต่างกัน ค่าจำแนกของข้อสอบสูงขึ้น และผลจากการเปลี่ยนข้อสอบส่งผลให้ค่าการเดาถูกลดลง 3 วิชา ส่วนวิชาอื่นๆ ใกล้เคียงกับการสอบครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผลการสอบครั้งนี้คงไม่สามารถนำคะแนนดิบมาเทียบกับการสอบครั้งที่ผ่านมาได้ เพราะใช้ข้อสอบชุดใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม ส่วนเด็กที่สอบ GAT ได้ 0 คะแนนถึง 8,000 คนนั้น ถือว่าเท่ากับการสอบครั้งที่ผ่านมา ซึ่งไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะเป็นที่รู้กันว่าเด็กไทยมีปัญหาเรื่องการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ อย่างไรก็ตาม เด็กที่ได้คะแนน 0 ในทุกวิชา มีบางส่วนเป็นเด็ก ม.6 ที่เข้ามาสอบเพื่อต้องการดูข้อสอบ แต่ไม่มีการฝนกระดาษคำตอบแม้แต่ข้อเดียว เพราะเด็กคงถือว่ายังสามารถสอบในครั้งต่อไปได้ผอ.สทศ.กล่าว
     
       ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวด้วยว่า สทศ.ยังได้สรุปการตัดสินผู้ทำผิดระเบียบการเข้าห้องสอบ ซึ่งพบว่า มี 22 ราย โดย 13 ราย ประกาศผลสอบให้ ส่วนที่เหลืออีก 9 ราย ไม่ประกาศผลสอบ เพราะถือว่าทำผิดระเบียบ เช่น ใช้บัตรประชาชนที่ชำรุดมาแสดงเป็นหลักฐานในการเข้าสอบ นำโทรศัพท์มือถือเข้าห้องสอบ และมีเสียงเรียกเข้า หลังทำข้อสอบเสร็จได้เปิดมือถือและเล่นเกม นำไม้บรรทัดที่มีสูตรคำนวณเข้ามาในห้องสอบ นำเครื่องคิดเลขเข้าห้องสอบ นำข้อสอบและกระดาษคำตอบออกจากห้องสอบ และนำมาคืนหลังสอบเสร็จ 20 นาที เป็นต้น สำหรับผู้ที่เข้าสอบ GAT/PAT ที่มีอายุมากกว่า 23 ปีขึ้นไปนั้น มีทั้งหมด 923 คน โดยวิชาที่เข้าสอบมากที่สุด คือ GAT 308 คน รองลงมา PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 274 คน

ตาราง ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ GAT PAT ครั้งที่ 2/2553 (กรกฎาคม 2553) จาแนกตามวิชา (คะแนนเต็ม 300 คะแนน)
วิชา
N
Mean
Median
Mode
SD.
Sk.
Ku.
Range
Min.
Max.
GAT ความถนัดทั่วไป
222,066
128.43
128.11
197.50
61.32
0.21
-0.92
300.00
0.00
300.00
PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
131,335
56.26
52.00
44.00
25.92
2.27
9.64
288.00
0.00
288.00
PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
133,002
85.49
82.00
77.00
21.62
1.66
5.10
251.00
0.00
251.00
PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
28,745
83.54
75.00
75.00
35.78
1.60
3.37
264.00
15.00
279.00
PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
13,828
102.06
99.00
105.00
28.61
0.53
0.43
222.00
3.00
225.00
PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
102,219
127.80
128.00
126.00
22.84
0.04
0.02
226.00
0.00
226.00
PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
15,262
119.93
119.50
122.00
20.54
0.11
0.28
200.00
17.50
217.50
PAT7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
3,323
93.33
84.00
78.00
33.06
2.07
5.45
243.00
39.00
282.00
PAT7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
579
98.68
87.00
81.00
38.48
1.55
2.14
228.00
42.00
270.00
PAT7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
2,920
105.26
90.00
84.00
46.17
1.71
2.64
270.00
30.00
300.00
PAT7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
5,007
85.21
81.00
84.00
26.46
2.54
10.06
252.00
18.00
270.00
PAT7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
590
87.97
84.00
78.00
25.82
1.97
6.03
195.00
33.00
228.00
PAT7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
228
90.39
87.00
90.00
19.62
1.73
7.25
165.00
48.00
213.00






                                  กราฟแสดงค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนการสอบ PAT


                                          
 
ในการสอบ PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศสกับ PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่นจะเห็นได้ว่าภาษาฝรั่งเศสคะแนนเฉลี่ยของคนที่เข้าสอบ 3,323 คน คะแนนเต็ม 300 คะแนน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 105.26 ขณะที่ภาษาญี่ปุ่นอยู่ที่ 93.33 สำหรับค่ามัธยฐานค่าที่อยู่กึ่งกลางของข้อมูลในการสอบวิชานี่ ภาษาฝรั่งเศสอยู่ที่ 84 และภาษาญี่ปุ่น อยู่ที่ 90
สรุปคือ ค่าเฉลี่ยของภาษาฝรั่งเศสมากกว่าภาษาญี่ปุ่น สำหรับค่ามัธยฐานภาษาญี่ปุ่นมากกว่าภาษาฝรั่งเศษ






การสอบ PAT 7.2 ความถนัดภาษาเยอรมันกับ PAT 7.6 ภาษาบาลี จะเห็นได้ว่าคะแนนต่ำสุดของการสอบภาษาเยอรมันจะน้อยกว่าภาษาบาลี คือ 42 ต่อ 48 ขณะที่คะแนนสูงสุดของภาษาเยอรมันจะมากกว่าภาษาบาลี คือ 270 ต่อ 213 จากคะแนนเต็ม 300 คะแนน





 
ในการสอบ GAT PAT ครั้งที่ 2/2553 ในรายวิชา PAT3 วิศวะฯ และ PAT4 สถาปัตยกรรมศาสตร์ จะเห็นได้ว่าจากที่ผู้เข้าสอบในรายวิชา PAT3 จำนวน 28,745 คน คะแนนเต็ม 300 คะแนน ได้ค่าเฉลี่ย 83.54 คะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 15 และมากสุดอยู่ที่ 279 คะแนน ขณะที่ PAT4 จำนานผู้เข้าสอบ 13,828 คน เต็ม 300 คะแนน ได้ค่าเฉลี่ย 102.06 คะแนนต่ำสุด 3 และคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 225 คะแนน
                สรุปได้ว่า การสอบสองรายวิชานี้ การสอบ PAT3 จะได้คะแนนสูงสุดมากกว่า PAT4
                            




เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.. 2479 มีพื้นที่เขตเทศบาล 4.5 ตารางกิโลเมตร โดยมีสำนักงานเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงตั้งอยู่บนศาลาจตุรมุขในเกาะกลางบึงพลาญชัย ต่อมาปี พ..2499 ได้สร้างสำนักงานแห่งใหม่ เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นตามแบบแปลนการก่อสร้างสำนักงาน
เทศบาลทั่วประเทศ ตั้งอยู่ที่ถนนเทวาภิบาลบนเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นและชุมชนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้ทำการขยายเขตเทศบาลออกไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2509 ทำให้มีพื้นที่
11.63 ตารางกิโลเมตร (พระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 23 ตอนที่ 21 วันที่ 5 มีนาคม 2509) และเพื่อพัฒนาและรองรับการบริหารและบริการประชาชน ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดได้ก่อสร้างอาคาร สำนักงานเพิ่มเติมอีก 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ต่อเชื่อมด้านหลังของอาคารหลังเดิม ในปี พ..2542 เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ
ตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเหนือฝั่งเหนือ ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ตรงจุดที่ติดกับลำห้วยเหนือไปทางทิศเหนือ 640 เมตร เลียบ
ตามริมห้วยฝั่งเหนือไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนหายโศรกไป ทางทิศตะวันตกตามแนวลำห้วย 250 เมตร
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือถึงหลักเขตที่ 3 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากริมห้วยเหนือฝั่งเหนือตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นขนานกับริมห้วยเหนือไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ 4ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพลินจิตฟากตะวันตกห่างจากคูเมือง 200 เมตร
ทิศตะวันออก
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นขนานกับคูเมืองไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ตรงกิโลเมตรที่ 121.640 ตามแนวเส้นตั้งฉากไปทางทิศเหนือ 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่ 6 ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ตรงกิโลเมตรที่ 123 ไปทางทิศเหนือตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร1
จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ตรงกิโลเมตรที่ 123 ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ตรงกิโลเมตรที่ 121.500 ไปทางทิศใต้ตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัด สายร้อยเอ็ด-อาจสามารถ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวเส้นตั้งฉาก 300 เมตร
จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านทางหลวงจังหวัดสายร้อยเอ็ด-อาจสามารถ ตรงกิโลเมตรที่ 5 ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดร้อยเอ็ด-อาจสามารถไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวเส้นตั้งฉาก 300 เมตร
ทิศใต้
จากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงจังหวัดสายร้อยเอ็ด-อาจสามารถ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางสามแยกทางหลวงจังหวัดสายร้อยเอ็ด-อาจสามารถ ตามแนวเส้นตั้งฉากไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 300 เมตร
จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงจังหวัดสายร้อยเอ็ด-อาจสามารถ ไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงจังหวัดสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิไปทางทิศตะวันออกตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงจังหวัดสายร้อยเอ็ด-สุวรรณภูมิ ไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหลักเขตที่ 13 ระยะ 380 เมตร
จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตที่ 15 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25 สายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ตรงกิโลเมตรที่ 1.330 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 15 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25 สายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 16 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25 สายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
ทิศตะวันตก
จากหลักเขตที่ 17 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25 สายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ไปทางทิศเหนือถึงหลักเขตที่ 18 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25 สายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ตรงกิโลเมตรที่ 1.470 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 18 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตที่ 19 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 25 สายร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ตรงกิโลเมตรที่ 1.620 ไปทางทิศตะวันตกตามแนวเส้นตั้งฉาก 650 เมตร2
จากหลักเขตที่ 19 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 20 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงจังหวัด สายร้อยเอ็ด-วาปีปทุม ฟากตะวันตก ตรงกิโลเมตรที่ 0.600
จากหลักเขตที่ 20 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 21 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ตรงกิโลเมตรที่118.885 ไปทางทิศใต้ ตามแนวเส้นตั้งฉาก 200 เมตร
จากหลักเขตที่ 21 เป็นเส้นขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายร้อยเอ็ด-มหาสารคาม ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 22 ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยเหนือฝั่งตะวันตก
จากหลักเขตที่ 22 เลียบตามริมห้วยเหนือฝั่งตะวันตกไปทางทิศเหนือบรรจบหลักเขตที่ 1

ถนนสายสำคัญภายในเขตเทศบาล ได้แก่
1. ถนนเทวาภิบาล เป็นถนนที่เชื่อมกับถนนแจ้งสนิทและทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 23
2. ถนนแจ้งสนิท เป็นถนนที่เชื่อมกับถนนเทวาภิบาลและทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 23
3. ถนนปัทมานนท์ เป็นถนนที่เชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 215 ออกไปอำเภอ
จตุรพักตรพิมาน
4. ถนนสุริยเดชบำรุง เป็นถนนที่เชื่อมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 215 ออกไปอำเภอ
สุวรรณภูมิ
5. ถนนรณชัยชาญยุทธ เป็นถนนที่ตัดผ่านเชื่อมโยงกับถนนจันทร์เกษม ถนนปัทมานนท์
ถนนสุริยเดชบำรุง ถนนเทวาภิบาล ออกสู่ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2043 ไปอำเภออาจ
สามารถ และออกถนนราชการดำเนิน สู่ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2045 ไปอำเภอวาปีปทุม
6. ถนนราชการดำเนิน เป็นถนนที่เชื่อมกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2045 ออกไป
อำเภอวาปีปทุม
7. ถนนเลี่ยงเมือง เป็นถนนที่ตัดผ่านถนนสุริยเดชบำรุง ถนนปัทมานนท์ และถนนราชการ
ดำเนิน เชื่อมโยงสู่ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 23 ออกไปจังหวัดมหาสารคามและทางหลวง
แผ่นดินหมายเลข 2043 ออกไปอำเภออาจสามารถ

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
                เมืองร้อยเอ็ด  จัดเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ  ภายในภาคค่อนข้างมากและสะดวก  ซึ่งส่งผลให้เมืองร้อยเอ็ดมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทางด้านการค้าพาณิชย์และบริการค่อนข้างสูง ทั้งอาคารพาณิชย์ ศูนย์บริการ ร้านอาหาร และสถานบริการต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะกระจายตัวไปตามเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกับจังหวัดอื่น ๆ  เช่น  เส้นทางไปจังหวัดมหาสารคาม และเส้นทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นต้น
               

1.  การใช้ที่ดิน

                การใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                การกระจายตัวของการใช้ที่ดิน ในเขตผังเมืองรวมจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด     ในปัจจุบันการใช้ที่ดินเกือบทุกประเภทกระจายปะปนกันอยู่ในย่านที่พักอาศัย    ย่านพาณิชยกรรมและบริเวณสถานที่ราชการ   รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นรอบ ๆ  บึงพลาญชัย   โดยย่านพาณิชยกรรมเก่าจะรวมกลุ่มกันอยู่ตามถนนผดุงพานิช  ถนนหายโศรกและถนนเพลินจิต  พาณิชยกรรมได้ขยายตัวไปบริเวณด้านใต้ ตามถนนราชการดำเนิน ถนนเทวาภิบาล จนถึงสุดเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

ย่านที่พักอาศัยค่อนข้างหนาแน่นอยู่บริเวณรอบ ๆ  ย่านพาณิชยกรรมถนนผดุงพานิช
ย่านวัดเหนือถนนสุขบูรพา บริเวณวัดกลางมิ่งเมือง ส่วนพื้นที่พักอาศัยเบาบางกระจายอยู่ทั่วไปปะปนกับวัดและโรงเรียนซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วพื้นที่เขตผังเมืองรวม
                                บริเวณสถานที่ราชการ      รวมกลุ่มอยู่บริเวณตอนใต้ของบึงพลาญชัย       บริเวณถนนเทวาภิบาล   ถนนสุริยเดชบำรุง   ได้แก่  ศาลากลางจังหวัด  ศาล   ที่ว่าการอำเภอ  สำนักงานที่ดินจังหวัด      ส่วนโรงพยาบาลและเรือนจำอยู่บริเวณด้านใต้ของเมือง
                                นอกจากนี้ยังมีอาคารธุรกิจและอาคารบริการชุมชน เช่น โรงเรียน บังกะโล ร้านอาหาร กระจายตัวอยู่ตามแนวรอบบึงพลาญชัย   และบริเวณทางไปจังหวัดกาฬสินธุ์นอกเขตเทศบาลฯ
                                จากการพิจารณาโครงสร้างถนน เส้นทางคมนาคม พื้นที่รองรับการกระจายตัวของอาคารประเภทต่าง ๆ แนวโน้มมีการขยายตัวของชุมชนในอนาคตคาดว่าจะขยายตัวตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  23   ตอนเลี่ยงเมืองและบริเวณด้านทิศใต้ของชุมชนซึ่งการขยายตัวของการใช้ที่ดิน
คาดว่าจะเป็นไปตามประเภทการใช้ที่ดินซึ่งจำแนกตามที่ประกาศท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (..2531)

 
 


2.  ด้านสังคม
ชุมชน
                สภาพปัจจุบันของชุมชนเมืองร้อยเอ็ดทางด้านกายภาพ  พบว่า  ชุมชนเมืองร้อยเอ็ดเป็นเมืองเก่าที่เคยรุ่งเรืองในอดีต  ยังคงมีคูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วนเหลืออยู่  แสดงให้เห็นถึงลักษณะพื้นที่ของชุมชนเมืองเก่าค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ล้อมรอบด้วยคูเมืองและกำแพงเมือง  มีบึงพลาญชัยเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด  ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางเมืองของเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  ชุมชนในอดีตได้เกาะกลุ่มตามแนวถนนด้านเขตคูเมือง บริเวณด้านเหนือและด้านตะวันออกของบึงพลาญชัยตามแนวถนนผดุง-พานิช  ถนนหายโศรก  และถนนดำรงราษฎร์วิถี  ปัจจุบันชุมชนได้ขยายไปในบริเวณด้านใต้ และด้านตะวันออกของบึงพลาญชัยตามถนนเทวาภิบาล  ถนนประชาธรรมรักษ์  และถนนปัทมานนท์  และได้ขยายตัวออกมานอกบริเวณคูเมืองและนอกเขตเทศบาลทุกด้าน ตามแนวถนนที่แยกออกจากบริเวณชุมชนเมือง  ด้านทิศใต้จรดถนนเลี่ยงเมือง ส่วนพื้นที่บริเวณรอบ ๆ  ชุมชนส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่เขตทหาร  เทศบาลได้แบ่งชุมชนย่อยเพื่อการพัฒนาไว้    20    ชุมชน  ได้แก่   ชุมชนท่านคร   ชุมชนวัดป่าเรไร   ชุมชนวัดเหนือ     ชุมชนวัดคุ้ม   ชุมชนศิริมงคล    ชุมชนวัดบึง   ชุมชนรอบเมือง    ชุมชนพระอารามหลวง ชุมชนทุ่งเจริญ     ชุมชนพิพิธภัณฑ์      ชุมชนตลาดหนองแคน    ชุมชนศรีอุดม     ชุมชนวัดเวฬุวัน     ชุมชนบ้านหนองหญ้าม้า    ชุมชน บขส.   ชุมชนจันทร์เกษม   ชุมชนโรงพยาบาล  ชุมชนราษฏรอุทิศ   ชุมชนโรงเรียนเมือง    และ  ชุมชนมั่นคงพัฒนา ในแต่ละชุมชนมีคณะกรรมการชุมชนร่วมกันบริหารและพัฒนาชุมชน  ประกอบด้วย

 
1.       ประธานกรรมการชุมชน
2.    รองประธานกรรมการ
2.       กรรมการฝ่ายปกครอง
3.       กรรมการฝ่ายการคลัง
4.       กรรมการฝ่ายสวัสดิการสังคม
5.       กรรมการฝ่ายสาธารณสุข
6.       กรรมการฝ่ายการศึกษา
7.       กรรมการและเลขานุการ
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น    ได้แก่   งานประเพณีปีใหม่และกาชาด  ,  งานบุญผะเหวด
(บุญมหาชาติ)  ,  งานประเพณีสงกรานต์ ,  งานประเพณีเข้าพรรษา  ,  งานประเพณีออกพรรษาและ
การกวนข้าวทิพย์ ,  งานประเพณีสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป ฯลฯ
วัด  ได้แก่ 
1. วัดบูรพาภิราม  (วัดพระอารามหลวง)                          8.  วัดเวฬุวัน 
2. วัดบึงพระลานชัย  (วัดพระอารามหลวง)   9.  วัดราษฎร์ศิริ 
3. วัดกลางมิ่งเมือง  (วัดพระอารามหลวง)                      10.  วัดคุ้มวนาราม 
4. วัดสระทอง                                                                    11.  วัดสว่างอารมณ์ 
5. วัดสระแก้ว                                                                        12.  วัดราษฎรอุทิศ 
6.  วัดเหนือ                                                                           13.  วัดท่านคร
7.  วัดป่าเรไร                                                                        14. วัดบ้านหนองหญ้าม้า



ประชากรในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

ตารางแสดงจำนวนประชากร ความหนาแน่นของประชากร

อัตราการเกิด  อัตราการตาย  การย้ายเข้า  การย้ายออก  ในเขตเทศบาล
(ปี 2549 – 2553)
..
จำนวนประชากร

จำนวน

พื้นที่
อัตรา
อัตรา
อัตราการ
อัตราการ
ความหนาแน่น

ชาย
หญิง
รวม
ครัวเรือน
(กม2)
การเกิด
การตาย
ย้ายเข้า
ย้ายออก
(คน/กม2)
2549
 16,630
17,980
34,610
11,300
11.63
447
6
405
688
2,975
2550
 16,092
17,322
33,414
13,642
11.63
474
125
305
702
2,873
2551
 16,760
17,953
34,713
13,897
11.63
403
44
523
764
2,984
2552
 16,673
17,873
34,510
14,173
11.63
413
113
229
651
2,967
2553
16,672
17,964
34,636
14,180
11.63
421
144
310
667
2,978

ที่มา   :   งานทะเบียนราษฎร   เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด   ณ วันที่   30 เมษายน 2553

จำนวนประชากรที่กำหนดตามช่วงวัย
ช่วงอายุประชากร
จำนวน (คน)
รวม
เพศชาย
เพศหญิง
น้อยกว่า  1  ปี
112
101
213
1  ปีเต็ม 2  ปี
355
327
682
3  ปีเต็ม 5  ปี
766
693
1,459
6  ปีเต็ม 11  ปี
1,961
1,871
3,832
12  ปีเต็ม 14  ปี
1,300
1,284
2,584
15  ปีเต็ม 17  ปี
955
995
1,950
18  ปีเต็ม 49  ปี
7,218
7,899
15,117
50  ปีเต็ม 60  ปี
1,904
2,182
4,086
มากกว่า 61 ปี
เต็มขึ้นไป
1,567
2,070
3,637



33,560

หมายเหตุ   :     ข้อมูล   ณ วันที่     30   ธันวาคม    2552



 
ตารางเปรียบเทียบประชากรชาย หญิง ตั้งแต่ พ..2549-2553 จำนวนประชากรชาย จะมีจำนวนไม่มาก เท่ากับจำนวนประชากรหญิง จำนวนประชากรหญิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี




จากการเปรียบเทียบจำนวนประชากร ช่วงอายุ น้อยกว่า1 ปี และ1ปีเต็ม-2 ปี จะเห็นได้ว่าเพศชายจะมีจำนวนเยอะกว่าเพศหญิง

                                 


อัตราการเกิด อัตราการตาย ในเขตเทศบาล พ..2549-2553 อัตราการเกิดสูงกว่าอัตราการตาย ในปี พ..2553 อัตราการตายจะสูงกว่าทุกๆปี


                                 


                                 

                                                  

1 ความคิดเห็น: